STROKE โรคหลอดเลือดสมอง
สัญญาณเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นได้ทุกวัย
Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะ ที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรค STROKE มีกี่ประเภท
โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
-
Ischemic Stroke เป็น “ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน” หรือ “ภาวะสมองขาดเลือด” พบได้ประมาณ 80% ของโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบไขมัน หินปูน ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนานูน แข็ง ขาดความยืดหยุ่น ทำให้รูของหลอดเลือดค่อยๆ ตีบแคบลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการลำเลียงเลือดลดลง หรืออาจเกิดจากลิ่มเลือดจากหัวใจ หรือการปริแตกของผนังหลอดเลือดหลุดมาอุดตันหลอดเลือดในสม
-
Hemorrhagic Stroke เป็น “ภาวะหลอดเลือดสมองแตก” หรือ “ภาวะเลือดออกในสมอง” ส่งผลให้เซลล์สมองได้รับ บาดเจ็บจากการมีเลือดคั่งในเนื้อสมอง ทำให้เนื้อสมองตายมักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดมีความเปราะเเละโป่งพอง และสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น ภาวะโป่งพองของหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น โรคเลือด โรคตับ การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด การได้รับสารพิษ การใช้สารเสพติด เป็นต้น
-
Transient ischemic attack (TIA) เป็น “ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว” มีอาการคล้ายโรคสมองขาดเลือด แต่มีอาการชั่วคราวมักเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ประมาณ 15% ของผู้ป่วยที่มีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว จะมีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตามมาจึงถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

สาเหตุโรคหลอดเลือดสมอง
ในการป้องกันโรคหลอดเ ลือดสมอง เราสามารถปองกันได้ โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้
-
ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 140/90 mmHg ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี, เป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคไตวายเรื้อรัง และควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 150/90 mmHg ในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี
-
โรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารให้อยู่ระหว่าง 80 - 130 mg/dl หรือ น้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 7 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดในร่างกาย
-
คอเลสเตอรอลในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จะทำให้ร่างกายมีค่าไขมันไม่ดี (LDL) ในเลือดสูงซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
-
โรคอ้วน ควรควบคุมน้ำหนักให้มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในช่วง 18.5 - 25 ซึ่งคำนวณโดยวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
-
การขาดการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 - 40 นาที เป็นจำนวน 3 - 4 ครั้ง/ สัปดาห์
-
การสูบบุหรี่จัดและการดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 2 หน่วย ( standard drink)/ วัน หรือมากกว่า 14 หน่วย/ สัปดาห์ ผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 1 หน่วย ( standard drink)/ วัน หรือมากกว่า 7 หน่วย / สัปดาห์ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยที่ 1 standard drink มีค่าเท่ากับ 10-12 กรัมของ ethanol alcohol เช่น 1 standard drink ของเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 4% จะมีปริมาณเท่ากับ 300 ml เป็นต้น
-
การใช้สารเสพติด
-
การหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ผู้ที่มีประวัติหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ซึ่งพบได้บ่อยในคนที่นอนกรนดังๆ หรือมีน้ำหนักตัวมากๆ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำ sleep test ดูว่ามีออกซิเจนในเลือดต่ำในช่วงนอนหลับหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้
-
หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอตีบ พบในผู้ที่มีอายุมาก มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการทำอัลตร้าซาวนด์ดูหลอดเลือดบริเวณคอ
-
หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีลิ้นหัวใจผิดปกติ สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (echocardiogram)
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้
-
ผู้สูงอายุ มีโอกาสเป็นได้มาก เรามักพบโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ เนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด
-
เพศชาย พบอุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าเพศหญิง
-
มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว
-
มีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองที่เราสามารถสังเกตได้หลักๆ มี 5 สัญญาณเตือนสำคัญ ดังนี้
-
ชาหรืออ่อนแรงใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน ทำให้มุมปากตก ปากเบี้ยว อมน้ำไม่อยู่ น้ำไหลออกจากมุมปาก
-
ชาหรืออ่อนแรงที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอย่างฉับพลัน สูญเสียการทรงตัว
-
พูดไม่ชัด พูดไม่ออก สับสน นึกคำพูดไม่ออก
-
การมองเห็นมีปัญหาฉับพลัน อาจมองเห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพครึ่งเดียว ตาบอดหนึ่งหรือสองข้าง
-
มีอาการปวดศีรษะรุนแรงฉับพลัน
FAST STROKE
Fast Stroke คือ อีกหนึ่งวิธีในการสังเกตตัวเองและคนใกล้ชิดว่ามีอาการของโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ โดยให้สังเกตอาการ ' F.A.S.T ' ดังนี้
-
F - Face : ใบหน้า
อาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว น้ำลายไหลออกจากมุมปากข้างที่ตก -
A Arm : แขน
อาการอ่อนแรงของแขน ขา ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย -
S Speak : การพูด
การพูดลำบาก พูดติดๆ ขัดๆ พูดไม่ชัด นึกคำพูดไม่ออก -
T Time : เวลา
รู้เวลาที่เกิดอาการผิดปกติ คือรู้ว่าเริ่มมีอาการเป็นเวลาเท่าไหร่นับจากที่มีอาการผิดปกติ หรือนับจากเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการปกติเป็นครั้งสุดท้าย และควรรีบมาโรงพยาบาลให้ทันภายใน 4.5 ชั่วโมง เนื่องจากในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสฟื้นตัวจากความพิการได้
การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง
สามารถตรวจได้โดยการตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) การตรวจ CT Scan จะช่วยวินิจฉัยแยกโรคสมองขาดเลือดกับโรคเลือดออกในสมองได้ โดยที่ใช้เวลาในการทำน้อยกว่า MRI Scan ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ส่วนการตรวจ MRI Scan จะมีความไวในการตรวจสมองขาดเลือดในระยะแรกๆ มากกว่าการทำ CT Scan และสามารถช่วยวินิจฉัยแยกโรค สมองขาดเลือดกับโรคเลือดออกในสมองได้เช่นกัน
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
โรคสมองขาดเลือด
-
การให้ยาสลายลิ่มเลือด (Tissue plasminogen activator, t-PA) ทางหลอดเลือดดำภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง นับจากเริ่มมีอาการ ช่วยเพิ่มโอกาสฟื้นตัวจากความพิการได้ 1.5-2.5 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาโดยที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกในสมองได้ 6% หลังได้รับยา
-
การให้ยาต้านเกล็ดเลือด
-
การนอนพักฟื้นในหอผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด (stroke unit)
-
การผ่าตัดเปิดกระโหลก พิจารณาทำในผู้ป่วยที่มีสมองขาดเลือดเป็นบริเวณกว้างเพื่อลดความดันในสมองลง ซึ่งสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้
โรคเลือดออกในสมอง
-
การนอนพักฟื้นในหอผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด (stroke unit) เพื่อควบคุมความดันโลหิต ในช่วง 1 อาทิตย์แรกหลังมีอาการ
-
การผ่าตัด พิจารณาทำในผู้ป่วยที่มีเลือดออกปริมาณมากหรือมีความดันในสมองสูง

แชร์ประสบการณ์
จากผู้ทานเซอร์นิติน
เพียงเปิดใจ..ฟังเรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่ที่ร่างกายแต่ละบุคคล
คุณฉัตรมณี คลองน้อย
ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่ที่ร่างกายแต่ละบุคคล
คุณวันเพ็ญ อ่อนคำ
ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่ที่ร่างกายแต่ละบุคคล
คุณแสงจันทร์ เธียรพรานนท์
ผู้ป่วยโรค เส้นเลือดหัวใจตีบ
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่ที่ร่างกายแต่ละบุคคล
คุณโสภณ กลิ่นคำดี
พิการจากอุบัติเหตุ
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่ที่ร่างกายแต่ละบุคคล
คุณจอมสิริ สุรทรัพย์มณี
ผู้ป่วย โรคหัวใจ
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่ที่ร่างกายแต่ละบุคคล
คุณรัตนะ คุณ านพรัตน์
ผู้ป่วย โรคอัมพฤกษ์
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่ที่ร่างกายแต่ละบุคคล
คุณไพฑูรย์ กุลวิลัย
ผู้ป่วย โรคหัวใจ
ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่ที่ร่างกายแต่ละบุคคล
คุณประสิทธิ์ ศรีศักดา
ผู้ป่วย โรคเบาหวาน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
สุขภาพ คือความมั่งคั่งที่แท้จริง..





ผลิตภัณฑ์ "CERNITIN" ได้ขึ้นทะเบียนเป็น "NUTRACEUTICAL" จากองค์การอนามัยโลกว่าเป็นสารอาหารบำบัดคุณภาพสูง หรือโภชนบำบัด ต่างประเทศจะเทียบเท่าเภสัชภัณฑ์หรือยา Cernitin คือเกสรดอกไม้ 8 ชนิด และสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด
เซอร์นิติน ละอองเกสรดอกไม้สกัด อาหารเสริมที่มีคุณค่าล้ำ
"เซอร์นิติน" สกัดจากละอองเกสรดอกไม้ 8 ชนิด ประกอบด้วย
Aspen, Hazel, Maize, Oxeye Daisy, Pine Pollen, Rye, Sallow และ Timothy โดยเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชที่ปลูกภายใต้เกษตรอินทรีย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ปราศจากยาฆ่าแมลง และสารเคมีกำจัดวัชพืช ตลอดจนถึงการควบคุมคุณภาพการผลิตภายใต้มาตรฐาน GMP และ ISO Q 9002
เซอร์นิติน แบ่งเป็น 15 ระบบ มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันออกไป และมีกรดอะมิโนกลุ่มหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ และมีเฉพาะในเซอร์นิตินเท่านั้น ทำให้ผู้ที่รับประทานได้รับประโยชน์ในการฟื้นฟู และบำรุงสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง และจากการดูแลลงลึกถึงระดับเซลล์ ทำให้เซอร์นิตินช่วยเสริมสร้างซ่อมแซม และบำบัดโรคในกลุ่ม NCDs ได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก ได้รับค่ามาตรฐานเฉพาะผลิตภัณฑ์ระดับโลก คือ ORAC หรือ ค่าระดับความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระ และค่า CAP-e Test หรือค่าความสามารถในการดูดซึมเข้าสู่เม็ดเลือดแดงที่สูงมาก ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีอยู่เกือบ 100%


ข้อมูลการผลิต

เอบี เซอร์แนล (AB Cernelle)
เป็นบริษัทในประเทศสวีเดน จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) มีชื่อเสียงด้านสารสกัดจากละอองเกสร ดอกไม้ที่มีชื่อว่า
"เซอร์นิติน" (Cernitin)
เอบี เซอร์แนล ไม่เพียงแต่เป็นบริษัทที่ได้รับมาตรฐานการผลิตตามหลักเกณฑ์ที่ดี ตามข้อจำกัดขององค์การอนามัยโลก (WHO) และมาตรฐานห้องทดลองและปฏิบัติการที่ดีแล้ว (GLP) ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ยังได้ผ่านการรับรองคุณภาพระดับ "เภสัชภัณฑ์" โดยคณะกรรมการสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมแห่งประเทศสวีเดน (องค์การที่มีหน้าที่ด้านการกำกับดูแล การนำเข้า การผลิต และการจัดจำหน่าย) โดยผลิตภัณฑ์เซอร์นิตินได้รับอนุญาตให้เป็นสารอาหารบำบัดจากธรรมชาติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2505

วิธีการสั่งซื้อ

สามารถโอนชำระ / บริการเก็บเงินปลายทาง
ตัดรอบเวลา 14.30 น. ของทุกวัน
หลังเวลาจะตัดยอดส่งใรวันถัดไป

